ทวีปอเมริกา ของ ปฏิกิริยาของนานาชาติต่อรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549

  • ประเทศแคนาดา - ในการแถลงข่าว, รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ นายปีเตอร์ แมคเคย์ กล่าวว่า แคนาดาวิตกอย่างมากต่อเหตุการณ์ต่างๆที่จะดำเนินไปข้างหน้าจากการปฏิวัติครั้งนี้ เราขอเร่งเร้าให้มีการแก้ปัญหาอย่างสันติต่อวิกฤตการณ์นี้โดยให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศ ที่ผ่านมานั้นประเทศไทยได้สร้างความก้าวหน้าด้านการเคารพสิทธิมนุษยชนและรัฐธรรมนูญ และหลักการการปกครองโดยกฎหมาย(หรือหลักนิติธรรม)อย่างเห็นได้ชัด และแคนาดาเองได้กระตุ้นให้ทุกภาคีให้การสนับสนุนคุณประโยชน์ด้านสิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรมอย่างต่อเนื่อง [2]
  • สหรัฐอเมริกา
    • รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศยกเลิกข้อตกลงเขตการค้าเสรีชั่วคราว และจะไม่รับรองรัฐบาลที่ตั้งโดยคณะปฏิรูป ยุติความสัมพันธ์ระหว่างไทย –อเมริกันจนกว่าจะมีการเลือกตั้งเสรีและเที่ยงธรรม [3]
    • ทอม เคซี่ รองโฆษก กระทรวงการต่างประเทศระบุว่า "ไม่มีเหตุผลที่ยอมรับได้สำหรับ การรัฐประหารในไทยหรือที่ใดก็ตาม ทางสหรัฐมีความเสียใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้เกิดการรัฐประหาร และนับเป็นการเดินถอยหลังสำหรับประชาธิปไตยไทย ทางสหรัฐหวังเป็นอย่างยิ่งให้มีการเลือกตั้งอย่างประชาธิปไตยโดยเร็วที่สุด ซึ่งเป็นสิ่งที่ทางผู้นำทางทหารได้สัญญาไว้ ผู้นำทางทหารจะต้องทำตามสัญญา และให้เกียรติต่อการสัญญานี้ การรัฐประหารมีผลพวงหลายอย่าง หนึ่งในผลพวงเหล่านี้คือการ พิจารณาถึงลักษณะบางประการ ในความสัมพันธ์ทางสองประเทศ"[4]
    • จอห์น โบลตัน เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำสหประชาชาติระบุว่า สหรัฐฯ คาดหวังที่จะเห็นสืบต่อของ กระบวนการประชาธิปไตยแบบมีรัฐธรรมนูญ[5]
    • รัฐบาลสหรัฐฯ ตัดเงินช่วยเหลือด้านการทหาร และด้านการรักษาสันติภาพแก่ไทยเป็นจำนวน 24 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 900 ล้านบาท) [6]
    • ดานา เปริโน โฆษกหญิงประจำทำเนียบขาวได้ออกมาเรียกร้องให้คณะปฏิรูปฯฟื้นคืนประชาธิปไตยในประเทศไทยโดยเร็ว พร้อมเตือนว่ากำลังประเมินที่จะเพิ่มมาตรการลงโทษหลังจากที่ได้ระงับความช่วยเหลือทางทหารไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วจำนวน 24 ล้านดอลลาร์สหรัฐ [7]
    • รัฐบาลสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์เรื่องรัฐประหารในไทยว่า "รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ได้รับทราบถึงการแต่งตั้ง พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราว และการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวของประเทศไทย เรายังมีความเป็นห่วงเรื่องการจำกัดสิทธิของพลเรือน เรื่องรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวยังคงไว้ซึ่งอำนาจทางการเมืองทั้งทางตรงและทางอ้อมของกองทัพ และเรื่องการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยที่กำหนดไว้ล่าช้ามาก หลังจากที่เราได้ใช้มาตรการลงโทษ โดยตัดเงินงบประมาณช่วยเหลือตามมาตรา 508 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ขณะนี้เรากำลังกำหนดมาตรการลงโทษเพิ่มเติม เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลชั่วคราว และกองทัพ ให้การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของพลเรือน และทั้งนี้ให้เป็นไปอย่างโปร่งใส และขอเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยโดยด่วน ภาพพจน์ของประเทศไทยในสายตาชาวโลกจะเสียหาย และความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและประเทศไทยจะยังคงตกต่ำ จนกว่าประเทศไทยกลับมาเป็นประเทศประชาธิปไตยชั้นนำของเอเชียเฉกเช่นแต่ก่อนการปฏิวัติ" [8]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปฏิกิริยาของนานาชาติต่อรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 http://english.people.com.cn/200609/20/eng20060920... http://www.economist.com/opinion/displaystory.cfm?... http://www.khaleejtimes.com/DisplayArticleNew.asp?... http://www.naewna.com/news.asp?ID=28984 http://nationmultimedia.com/2006/09/22/national/na... http://nationmultimedia.com/2006/09/29/headlines/h... http://nationmultimedia.com/breakingnews/read.php?... http://www.nationmultimedia.com/2006/09/20/headlin... http://www.nytimes.com/2006/09/21/world/asia/21tha... http://today.reuters.com/news/articlenews.aspx?typ...